วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

3.4 วิธีการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์

วิธีการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์

       การพิจารณาเลือกซื้อคอมพิวเตอร์เป็นขั้นตอน สำคัญซึ่งเราควรทำความเข้าใจก่อนศึกษาเรื่องอื่นซึ่งเนื้อหาในบทนี้จะแบ่ง ออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ และการเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์บางชิ้นในกรณีที่เราต้องการซื้ออุปกรณ์มา ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เอง หรือเราต้องการอัพเกรดอุปกรณ์บางชิ้นภายในเครื่อง เช่น ต้องการซื้อฮาร์ดดิสก์ตัวใหม่ที่มีความจุมากกว่าเดิม หรือซื้อแรมมาเพิ่มให้ประมวลผลได้เร็วยิ่งขึ้น เป็นต้น เนื้อหาในส่วนนี้จะให้รายระเอียดและขั้นตอนในการเลือกซื้อเครื่อง คอมพิวเตอร์ เพื่อให้เราได้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด และไม่ถูกหลอกในการเลือกซื้อ โดยพอสรุปขั้นตอนที่เราควรคำนึงถึงเป็นแผนภาพดังต่อไปนี้

ลักษณะการใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์

       ขั้น ตอนแรกที่เราควรพิจารณาในการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ นั่นคือต้องการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้งานอะไร เป็นต้นเพื่อที่เราจะสามารถเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับการใช้งานโดย เราจะแบ่งระดับผู้ใช้งานเป็น 3 ประเภท คือ1. Basic User ได้แก่ ผู้ใช้โปรแกรมประเภท Windows 95/98/Me,Ms Office และดูหนังฟังเพลง2. Power User ได้แก่ ผู้ใช้งานด้านกราฟฟิกและเล่นเกม เช่น โปรแกรม Photoshop ,AutoCAD3. Graphic User ได้แก่ ผู้ที่ใช้งานด้านกราฟฟิกเป็นหลัก เช่น โปรแกรม Photoshop,AutoCAD และ 3D Studio Max ตารางข้างล่างจะเป็นตัวอย่างในการเลือกอุปกรณ์ในการใช้งาน โดยแบ่งตามระดับผู้ใช้งานดังนี้

ระดับผู้ใช้
ซีพียู
ขนาดแรม (MB)
ความเร็วแรม(MHz)
Basic User
Intel Celeron 400-500 MHz AMD K6 350-500 MHzCyrix MII 350 MHz ขึ้นไป
32 หรือ 64
66 หรือ 100
Power User
Intel Pentium III 400 MHz ขึ้นไปAMD K6 III 400 MHz ขึ้นไปCyrix M II 450 MHz หรือ Cyrix M III
64
100
Graphic User
Intel Pentium III 600 MHz ขึ้นไป หรือ AMD k7 600 ขึ้นไป
128
100 หรือ 133
สเป็คของเครื่องคอมพิวเตอร์
เมื่อ เราทราบถึงลักษะการใช้งานของเครื่องแล้ว ต่อมาเราจะพิจารณาถึงสเป็ค ของเครื่อง ซึ่งเราควรดู สเป็คของเครื่องคอมพิวเตอร์ว่าเป็นอย่างไร มีความเหมาะสมหรือตรงตามวัตถุประสงค์ในการใช้งานหรือไม่ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์มีส่วนประกอบหลักๆที่ควรพิจารณามีดังนี้หน่วยประมวล ผล (CPU) ว่าเป็นรุ่นใด เช่น Celeron Pentium II Pentium III และ CPU เหล่านี้มีความเร็วในการทำงานเท่าไหร่มีหน่วยความจำหลัก (RAM) ว่ามีขนาดและความเร็วเท่าไหร่ เช่น แรมขนาด 64 MB มีความเร็วในการทำงาน 100 MHzฮาร์ดดิสก์มีขนาดเท่าไหร่ มียี่ห้อหรือเป็นชนิดใดและมีความเร็วในการถ่ายเทข้อมูลเท่าไหร่ใช้เมนบอร์ด รุ่นไหนมีการ์ดจอยี่ห้อหรือรุ่นอะไร และมีหน่วยความจำในการ์ดจอเท่าไหร่มีการ์ดเสียงและลำโพงยี่ห้อหรือรุ่นอะไร ฯลฯ ซึ่งตัวอย่างต่อไปนี้ เป็นสเป็คตัวอย่างของเครื่องในใบเสนอราคาจากร้านค้าแห่งหนึ่ง
37,343 บาท หรือ2,059 บาท/เดือน x 24 เดือนIntel Pentium III 600MHzChipset Intel Mainboard64MB SDRAM (100MHz) Memory15GB Hard Disk Ultra DMA 661.44MB Floppy Disk DriveMedium Twer 250w ATX Case125 WATT Stereo Speaker50X CD-ROM Drive108 Key KeyboardPS/2 Mouse and Mouse pad15" Digital Control Samsung Monitor
ตารางต่อไปนี้จะอธิบายรายละเอียดสเป็คของเครื่องจากโบร์ชัว
สเป็คของเครื่อง
คำอธิบาย
Intel Pentium III 600 MHz
ซีพียู Intel รุ่น Pentium III ความเร็ว 600 MHz
Chipset Intel Mainboard
ใช้ Mainboard ที่ทำงานด้วยชิบเซ็ต จาก Intel
64 MB SDRAM (100 MHz) Memory
หน่วยความจำขนาด 64 MB ทำงานที่ความเร็ว 100 MHz
15 GB Hard Disk Ultra DMA 66
ฮาร์ดดิสก์ขนาด 15 GB ชนิดที่มี ความเร็วในการถ่ายเทข้อมูลแบบ Ultra DMA 66 เมกะไบต์ต่อวินาที
1.44MB Floppy Disk Drive
ฟล็อปปี้ดิสก์ไดร์ฟขนาด 3.5 นิ้วใช้งานกับแผ่นดิสก์เก็ต 1.44MB
Medium Tower 250w ATX Case
เคสขนาดกลาง 250 w ใช้กับบอร์ด ATX
120 Watts Stereo Speaker
ลำโพงสเตอริโอขนาด 120 วัตต์
50X CD-ROM Drive
เครื่องอ่านซีดีรอมความเร็ว 50 เท่า
108 Key Keyboard
คีย์บอร์ด 108 Key
PS/2 Mouse and Mouse pad
เมาส์ขั้วต่อ PS/2 และแผ่นรองเมาส์
15"Digital Control Samsung Monitor
จอภาพขนาด 15 นิ้วระบบดิจิตอล ยี่ห้อ Samsung
ราคา ของเครื่องคอมพิวเตอร์ จากตัวอย่างดังกล่าว การที่เราจะเข้าใจใบเสนอราคาเครื่อง ก็ไม่ใช่เรื่องยากเลย เพียงแต่ผู้ใช้ควรมีพื้นฐานภาษาอังกฤษ เพราะใบเสนอราคาเครื่องโดยทั่วไปจะใช้ภาษาอังกฤษทั้งหมด ปัญหาพื้นฐานของผู้ใช้มือใหม่ที่มักจะสับสนว่า อะไรคือชื่อยี่ห้อ อะไรคือชื่ออุปกรณ์ เพราะมองในใบเสนอราคามีแต่ภาษาอังกฤษทั้งนั้น วิธีการแก้ปัญหาคือ การหาชื่ออุปกรณ์ ซึ่งชื่ออุปกรณ์จะใช้คำหลักๆเหล่านี้เสมอ เช่น Mainboard, RAM, Monitor, Keyboard, Mouse ส่วนรายละเอียดอื่นๆที่มีเพิ่มเติม ก็มักจะเป็นยี่ห้อของอุปกรณ์นั้น (ถ้ารายละเอียดเป็นตัวอักษร) เป็นความเร็ว ความจุขนาดของอุปกรณ์นั้น (ถ้ารายละเอียดเป็นตัวเลข) ส่วนรายละเอียดที่แตกต่างจากตัวอย่างที่นำเสนอนั้นจะมีอยู่ไม่มากแล้ว เราสามารถสอบถามจากร้านค้านั้นๆได้
ในปัจจุบันอุปกรณ์หรือเครื่องมีราคา ไม่แน่นอน ดังนั้นก่อนซื้อเครื่องเราควรหาข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจว่าเราจะซื้อ รุ่นไหน ยี่ห้ออะไร โดยการอ่านข้อมูลในหนังสือหรือการเดินสำรวจตามร้านต่างๆ พร้อมหยิบโบว์ชัวหรือใบเสนอราคา เพื่อนำมาเปรียบเทียบสเป็คและราคาว่าเป็นอย่างไรและราคานี้ยังขึ้นอยู่กับ ลักษณะของการซื้อด้วย ซึ่งในปัจจุบันเราแบ่งลักษณะของการซื้อคอมพิวเตอร์เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้1. กลุ่มผู้ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์แบบมียี่ห้อ หรือเครื่องแบรนด์เนม (Brand Name) ซึ่งเป็น แบรนด์เนมทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ เช่น Intel,Acer, IBM , Atec, Powell, Success PC เป็นต้น ข้อดี คือการได้เครื่องที่มีคุณภาพสูง อุปกรณ์ต่างๆถูกคำนวณและปรับแต่งด้วยวิศวกรที่ชำนาญ เพื่อให้ประสิทธิภาพเครื่องโดยรวมมีประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ยังมีการประกันและบริการหลังการขายเป็นอย่างดี (ในบางครั้งอาจมีการฝึกอบรมการใช้เครื่องหรือโปรแกรมแก่ผู้ใช้ด้วย)และเมื่อ เครื่องเสียจะซ่อมได้ง่ายเนื่องจากช่างรู้อุปกรณ์ต่างๆเป็นอย่างดี ข้อเสีย คือเครื่องมีราคาแพงที่สุดและเลือกสเป็คตามต้องการไม่ได้ (เพราะว่าสเป็คได้ถูกกำหนดมาแล้วเป็นชุด) เนื่องจากการดูแลรักษาง่าย มีปัญหาน้อยที่สุด ดังนั้น การซื้อเครื่องแบบนี้จะเหมาะกับผู้ซื้อไม่มีประสบการณ์ในการใช้เครื่องและมี ทุนทรัพย์เพียงพอและเหมาะกับองค์กรที่ใช้เครื่องเป็นจำนวนมาก2.กลุ่มผู้ซื้อ เครื่องประกอบตามใบสั่งจากร้าน ข้อดี คือสามารถกำหนดสเป็คและรุ่นได้ ราคาถูก (ส่วนการรับประกันและบริการหลังการขายขึ้นกับทางร้าน) สามารถจำกัดงบได้ ข้อเสียคือการประกอบเครื่องอาจเป็นเพียงการนำอุปกรณ์ตามที่เรากำหนดสเป็คไว้ มาประกอบรวมกันเท่านั้น ไม่ได้คำนวณและปรับแต่งเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงยิ่งกว่านั้นถ้าเราไม่มี ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์นั้น เราอาจได้สินค้าที่ไม่มีคุณภาพเพียงพอหรือได้สินค้าปลอม และเมื่อเครื่องเสียต้องยกมาที่ร้านเอง3.กลุ่มผู้ซื้อเครื่องประกอบโดยนำมา ประกอบเอง ข้อดี คือได้อุปกรณ์ที่ดีมีคุณภาพเพราะเป็นอุปกรณ์ใหม่แกะกล่อง แน่ใจได้เลยว่าไม่ใช่สินค้าปลอม สามารถเลือกรุ่น และยี่ห้อได้เช่นเดียวกับแบบสั่งประกอบ แต่เลือกได้หลากหลายกว่า และอาจซื้อได้ถูกกว่าอีกด้วย ข้อเสีย คือราคาโดยรวมอาจจะสูงกว่าซื้อตามใบสั่งบางรายการ เพราะอุปกรณ์ที่ได้จะดีกว่าและผู้ซื้อต้องเสียเวลาในการประกอบเครื่องเองและ ติดตั้งโปรแกรมด้วยตนเอง "คอมพิวเตอร์มีขายเยอะแยะ ทำไมต้องประกอบเอง" คำตอบง่ายๆก็คือ ก็เพราะว่าเครื่องที่ประกอบใช้เองนั้นราคาประหยัดกว่า สามารถเลือกสเปคและยี่ห้ออุปกรณ์ได้ตามความพอใจ และที่สำคัญคือเลือกได้ทันสมัยกว่าเครื่องแบรนด์เนมทั่วไปอีกด้วย


การรับบริการหลังการขาย

สิ่งที่เราควรคำนึงถึงก่อนตัดสินใจในการซื้อที่มีความสำคัญเท่า ๆ กับราคาและสเป็คก็คือบริการหลังการขาย เพราะเมื่อเครื่องมีปัญหาในการทำงาน และทางร้านรับประกันเครื่อง เราสามารถรับบริการได้ตามการประกันนั้น เช่น การซ่อมแซม เป็นต้น ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ รูปแบบในการรับประกันในปัจจุบันนี้รูปแบบการรับประกันมี 2 แบบคือ1. การรับประกันสินค้าแบบรวมค่าแรง เป็นลักษณะที่เมื่อเครื่องเกิดปัญหาทางร้านยินดีไปรับมาซ่อมและนำส่งเมื่อ ซ่อมเสร็จแล้วโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ โดยส่วนมากจะเป็นร้านที่มีชื่อเสียงและสินค้าที่รับประกันจะเป็นสินค้าที่ดี มีคุณภาพ เช่น สินค้าที่มี Brand name ต่างๆ และมีราคาค่อนข้างแพง2. การรับประกันแบบไม่รวมค่าแรง เป็นลักษณะที่เมื่อเครื่องเกิดปัญหาเราต้องนำเครื่องไปซ่อมเองที่ร้านและรับ กลับเองเมื่อซ่อมเสร็จ และบางครั้งอาจมีการคิดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมด้วย ซึ่งการรับประกันแบบนี้จะใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ราคาถูกทั่วไปหรือการซื้อ เครื่องมาประกอบเองสำหรับการเลือกบริการหลังการขายนี้เราต้องพิจารณาให้ รอบคอบว่าแบบใดจึงจะเหมาะสมกับเครื่อง และลักษณะของการใช้งานแบบไหน ถ้าเป็นการใช้งานเกี่ยวกับโปรแกรมกราฟฟิกหรือโปรแกรมที่มีความซับซ้อน (ระดับ Graphic User) เราควรเลือกรูปแบบการรับประกันสินค้าแบบรวมค่าแรง เพราะนอกจากที่เราจะได้สินค้าที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดี แล้ว เมื่อเครื่องหรืออุปกรณ์มีการขัดข้องก็สามารถรับบริการหลังการขายตลอดระยะ เวลาในการรับประกันได้ถ้าหากเราเลือกแบบไม่รวมค่าแรงเมื่อเครื่องขัดข้อง หรือมีปัญหา เราจะต้องนำเครื่องไปที่ร้านเองทุกครั้งและเสียค่าใช้จ่ายมากด้วย เนื่องจากเป็นโปรแกรมที่มีความซับซ้อนในการใช้งานกว่า ความเสียหายอาจจะมากกว่าเครื่องที่ใช้งานแบบธรรมดา ระยะเวลาในการรับประกัน ในการรับประกันสินค้านั้นทางร้านจะกำหนดระยะเวลาในการประกันด้วย โดยส่วนมากเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีการประกัน 1 ปี แต่ถ้าเราซื้อเครื่องแบบประกอบเราควรจะต้องทราบก่อนว่าอุปกรณ์แต่ละตัวมีการ ประกัน และมีระยะการรับประกันอย่างไร ซึ่งรายละเอียดของการรับประกันอุปกรณ์แต่ละตัวแสดงดังตาราง
อุปกรณ์
ระยะเวลาในการประกัน*
ฮาร์ดดิสก์
3 ปีสำหรับตัวแทนภายในประเทศ (เช่น ตัวแทนจำหน่วยฮาร์ดดิสก์ Quantum และ Seagate เป็นต้น) 1 ปีสำหรับผู้นำเข้าที่ไม่ใช่ตัวแทนจำหน่ายในประเทศ
หน่วยประมวลผล(CPU)
3 ปีสำหรับซีพียูที่นำเข้าภายในประเทศ1 ปีสำหรับซีพียูที่นำเข้าโดยพ่อค้าคายย่อย
หน่วยความจำ(RAM)
รับประกัน 1 ปี (หรือตลอดอายุการใช้งานซึ่งขึ้นอยู่กับยี่ห้อของหน่วยความจำ)
เมนบอร์ด
รับประกัน 1 ปี
การ์ดแสดงผล
รับประกัน 1 ปี
แหล่งจ่ายไฟ(Power supply)
รับประกัน 1 ปี
*ระยะเวลาในการรับประกันอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นควรมีการเช็คดูก่อนเสมอดังนั้น เราควรจะรักษาสติกเกอร์ให้ดีเพราะถ้าหากสติกเกอร์มีรอยฉีกขาด (หรือในกรณีที่สติกเกอร์ลอกจะเกิดรอยเป็นตัวอักษรคำว่า " Void") หรือมีการแกะสติกเกอร์ออกไม่ว่าจะกรณีใดๆ ทั้งสิ้นทางร้านจะถือว่าการรับประกันสิ้นสุดลง จากเหตุผลข้างต้นเราจึงควรตรวจสอบด้วยว่าผู้ขายได้ติดสติกเกอร์ในตำแหน่งที่ เหมาะสมหรือไม่เช่น ถ้าติดสติกเกอร์ในตำแหน่งที่หลุด หรือมีรอยได้ง่าย ในขณะที่เปลี่ยนฮาร์ดดิสก์หรือขณะย้ายเครื่องเราควรแจ้งให้เปลี่ยนตำแหน่ง ใหม่ ซึ่งตำแหน่งที่จะติดสติกเกอร์ควรเป็นตำแหน่งที่หลีกเลี่ยงการเสียดสีหรือการ สัมผัสบ่อยๆ
เมื่อเครื่องเสียหรือต้องการเปลี่ยนอุปกรณ์เราควรแจ้งทาง ร้านที่รับประกัน เราไม่ควรจะถอดตัวถังของซีพียูเองเนื่องจากผู้รับประกันอาจจะไม่รับประกัน เพราะมีรอยเสียหายหรือการถอดเปลี่ยนอุปกรณ์

การตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆในเครื่องคอมพิวเตอร์
เมื่อเราได้เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ แล้วก่อนที่จะออกร้านเราควรเช็คหรือตรวจสอบเครื่องก่อน เพื่อตรวจดูว่าเครื่องที่ได้ตรงตามสเป็คและมีการชำรุดหรือไม่ ซึ่งมีวิธีการตรวจสอบ 3 วิธีดังนี้1. การตรวจสอบโดยเปิดฝาเครื่อง โดยการเปิดฝาเครื่องออกมาเพื่อดูส่วนประกอบภายในเครื่องเป็นการตรวจที่ง่าย ที่สุด ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้เราทราบเพียงว่าส่วนประกอบของเครื่องมีอะไรบ้าง แต่ไม่สามารถเช็คการทำงานของอุปกรณ์นั้นๆ ได้ ว่าทำงานได้จริงและมีความถูกต้องหรือไม่ 2. การตรวจสอบด้วยวินโดวส์ โดยการใช้โปรแกรมพิเศษในการตรวจ (เช่น Norton Utilities) หรือใช้Control Panel ที่มีอยู่แล้วในเครื่องก็ได้ ซึ่งวิธีนี้สามารถตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ได้3. การตรวจเครื่องด้วยไบออส เป็นกระบวนการที่ตรวจสอบฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ภายในเครื่องทุกครั้งที่เปิดเครื่องขึ้นมา เช่น หน่วยประมวลผล (CPU) หน่วยความจำ (RAM) ส่วนของอุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูล อุปกรณ์ต่อพ่วงภายนอกและการ์ดที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อดูว่าฮาร์ดแวร์เหล่านี้สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องหรือไม่หรือมีความ ขัดข้องในการทำงาน และเป็นวิธีที่เราสามารถเช็คว่า ได้เครื่องตามสเป็คหรือไม่ ถึงแม้ว่าการตรวจด้วยวิธีนี้จะไม่ละเอียดมากนักแต่ก็ทำการตรวจได้รวดเร็วดัง นั้นจึงเหมาะในการตรวจดูเครื่องก่อนออกจากร้านสำหรับการตรวจเครื่องโดยใช้ ไบออสนั้นทำได้ง่าย เพราะหลังจากที่เราเปิดเครื่องขึ้นมาไบออสจะนำกระบวนการ POST (Power On Self Test) มาตรวจสอบฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ว่าอุปกรณ์เหล่านี้สามารถทำงานได้ถูกต้องหรือไม่ และแสดงข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ในเครื่องให้เราทราบซึ่งถ้าหากเราพบ ว่าไม่ถูกต้องก็ให้แจ้งกับทางร้านให้ทราบก่อนนำออกจากร้านเพื่อทำการแก้ไข ข้อผิดพลาดนั้น ๆในกรณีที่เราสังเกตไม่ทันไม่ควรปิดเครื่องในระหว่างที่วินโดวส์กำลังบู๊ต เพราะจะทำให้วินโดวส์มีปัญหาในการทำงานภายหลังได้ เราควรปิดเครื่องก่อนที่เครื่องจะเข้าสู้ขั้นตอนการบู๊ตของวินโดวส์หรือรอ ให้วินโดวส์บู๊ตเสร็จก่อนแล้วจึง Restart เพื่อเริ่มการสังเกตข้อความที่แสดงโดยไบออสอีกครั้ง เมื่อเราเปิดเครื่องขึ้นมา โดยทั่วไปที่หน้าจอของเครื่องจะปรากฏหน้าจอ 3 หน้าจอ โดยที่ หน้าจอแรก จะแสดงข้อมูลของการ์ดแสดงผล ที่หน้าจอแรกนี้จะแสดงข้อมูลของการ์ดแสดงผลที่ใช้ในเครื่อง ได้แก่ ยี่ห้อ, รุ่นของชิป CPU, ชนิดของ Slot ติดตั้ง, ขนาดของแรมบนการ์ด,เวอร์ชันของ BIOSที่ใช้บนการ์ด หน้าจอที่สอง จะแสดงการตรวจสอบสถานะของเครื่อง (Power On Self Test) โดยเริ่มจากมีเสียง Beep ดัง 1 ครั้ง แสดงว่าเครื่องทำงานปกติ (แต่ถ้าได้ยินเสียงดังมากกว่า 1 ครั้ง ให้รีบปิดเครื่องทันที) จากนั้นเครื่องจะเริ่มตรวจนับแรมรุ่นและความเร็วของซีพียู ต่อไปก็จะทำการตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ และซีดีรอมไดรว์ต่อไป หน้าจอที่สาม จะแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการตรวจสอบ ที่หน้าจอนี้จะแสดงอุปกรณ์ เช่น รุ่นและความเร็วของซีพียู ขนาดของหน่วยความจำ Cache ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ รุ่นของฮาร์ดดิสก์ และซีดีรอมไดรว์ เป็นต้น

3.3 แป้นพิมพ์

การใช้แป้นพิมพ์

ไม่ว่าคุณเขียนจดหมายหรือเติมข้อมูลตัวเลข แป้นพิมพ์เป็นทางหลักในการป้อนข้อมูลลงไปยังคอมพิวเตอร์ของคุณ แต่คุณรู้หรือไม่ว่าคุณสามารถใช้แป้นพิมพ์ในการควบคุมคอมพิวเตอร์ของคุณได้ การเรียนรู้ที่จะใช้ คำสั่ง (คำแนะนำที่ส่งไปถึงคอมพิวเตอร์ของคุณ) อย่างง่ายๆ เพียงเล็กน้อยบนแป้นพิมพ์จะช่วยคุณทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น บทความนี้ครอบคลุมพื้นฐานการใช้แป้นพิมพ์และให้คุณเริ่มต้นใช้คำสั่งผ่าน แป้นพิมพ์

การจัดกลุ่มแป้นต่างๆ

แป้นบนแป้นพิมพ์แบ่งออกได้เป็นหลายกลุ่มขึ้นกับการทำงาน
  • แป้นตัวพิมพ์ (ตัวเลขและตัวอักษร) แป้นเหล่านี้ประกอบด้วยตัวอักษร ตัวเลข เครื่องหมายวรรคตอน และแป้นสัญลักษณ์ แบบเดียวกับที่พบบนเครื่องพิมพ์ดีดแบบดั้งเดิม
  • แป้นควบคุม แป้นควบคุมต่างๆ นี้ใช้เดี่ยวหรือใช้ร่วมกับแป้นอื่นเพื่อทำงานบางอย่าง แป้นควบคุมที่ใช้มากที่สุดคือแป้น CTRL แป้น ALT แป้นโลโก้ Windowsรูปของปุ่มโลโก้ Windows และแป้น ESC
  • แป้นฟังก์ชัน แป้น ฟังก์ชันใช้กับการทำงานเฉพาะอย่าง แป้นทั้งหลายนี้มีชื่อบอกเป็น F1, F2, F3 และต่อไปจนถึง F12 หน้าที่ของแป้นเหล่านี้แตกต่างกันไปในแต่ละโปรแกรม
  • แป้นนำทาง แป้นนำ ทางต่างๆ นี้ใช้สำหรับเคลื่อนย้ายไปทั่วทั้งเอกสารหรือเว็บเพจ และใช้สำหรับแก้ไขข้อความ ประกอบด้วยแป้นลูกศร, HOME, END, PAGE UP, PAGE DOWN, DELETE และ INSERT
  • แป้นพิมพ์ตัวเลข แป้นพิมพ์ตัวเลขช่วยให้คุณป้อนตัวเลขได้อย่างรวดเร็ว แป้นเหล่านี้อยู่ด้วยกันเป็นกลุ่มเหมือนเครื่องคำนวณหรือเครื่องบวกเลขทั่วไป
ภาพต่อไปนี้แสดงวิธีการจัดแป้นตัวพิมพ์บนแป้นพิมพ์ทั่วไป เค้าโครงของแป้นพิมพ์ของคุณอาจแตกต่างกันได้
รูปภาพของแป้นพิมพ์ที่แสดงแป้นชนิดต่างๆการจัดเรียงแป้นต่างๆ บนแป้นพิมพ์

การพิมพ์ข้อความ

เมื่อคุณต้องพิมพ์บางสิ่งบางอย่างลงในโปรแกรม ข้อความอีเมล หรือกล่องข้อความ คุณจะเห็นเส้นกระพริบแนวตั้งเส้นหนึ่ง (รูปภาพของเคอร์เซอร์ ). นั่นคือ เคอร์เซอร์ หรือเรียกได้อีกอย่างว่า จุดแทรก เคอร์เซอร์นี้ใช้บอกตำแหน่งข้อความที่คุณเริ่มพิมพ์ คุณย้ายเคอร์เซอร์ได้โดยการคลิกไปยังตำแหน่งที่ต้องการด้วยการใช้เมาส์ หรือด้วยการใช้แป้นนำทาง (ดูส่วนของ "การใช้แป้นนำทาง" ในบทความนี้)
นอกเหนือจากตัวอักษร ตัวเลข เครื่องหมายวรรคตอน และสัญลักษณ์ต่างๆ แล้ว แป้นตัวพิมพ์ยังรวมถึงแป้น SHIFT, CAPS LOCK, TAB, ENTER, SPACEBAR และ BACKSPACE


ชื่อแป้น วิธีใช้แป้น
SHIFT
กดแป้น SHIFT พร้อมกับตัวอักษรเพื่อพิมพ์ตัวพิมพ์ใหญ่ กดแป้น SHIFT พร้อมกับแป้นอื่นเพื่อพิมพ์สัญลักษณ์ที่แสดงอยู่ข้างบนของแป้นนั้น
CAPS LOCK
กดแป้น CAPS LOCK หนึ่งครั้งเพื่อพิมพ์ตัวอักษรทั้งหมดเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ กดแป้น CAPS LOCK อีกครั้งเพื่อปิดฟังก์ชั่นนี้ แป้นพิมพ์ของคุณอาจมีไฟแสดงว่า CAPS LOCK เปิดอยู่
TAB
กดแป้น TAB เพื่อย้ายเคอร์เซอร์ไปข้างหน้าหลายช่องว่าง คุณยังสามารถกดแป้น TAB เพื่อย้ายไปที่กล่องข้อความถัดไปบนฟอร์มได้อีกด้วย
ENTER
กดแป้น ENTER เพื่อย้ายเคอร์เซอร์ไปที่ต้นบรรทัดถัดไป ใน กล่องโต้ตอบ กดแป้น ENTER เพื่อเลือกปุ่มที่เน้น
SPACEBAR
กดแป้น SPACEBAR เพื่อเลื่อนเคอร์เซอร์ไปข้างหน้าหนึ่งช่อง
BACKSPACE
กดแป้น BACKSPACE เพื่อลบอักขระที่อยู่ก่อนหน้าเคอร์เซอร์ หรือลบข้อความที่เลือกไว้

3.2 วิธีการติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์

Setup or Installation

การติดตั้งโปรแกรมโดยปกติทั่วไป จะมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากมากนัก ยกเว้นแต่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows หรือ OS เนื่องจากจะต้องมีการ setup และเตรียมพร้อมจัดหา driver ต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับเครี่องๆ นั้น ไม่ว่าจะเป็น driver ของการ์ดจอ, การ์ดเสียง เป็นต้น ณ ที่นี่จะไม่ขอกล่าวถึงการติดตั้ง Windows เนื่องจากคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะติดตั้งไว้ให้เรียบร้อยแล้ว ตอนซื้อเครื่องคอมฯ
สำหรับหลักในการติดตั้งโปรแกรม สามารถแบ่งออกได้ 2 วิธี

ติดตั้งจากแผ่น CD แบบรันอัตโนมัติ

  1. ใส่แผ่น CD โปรแกรมที่ต้องการติดตั้ง
  2. รอสักครู่โปรแกรม จะเปิดโปรแกรมช่วยในการติดตั้งอัตโนม้ติ
  3. กดปุ่มยืนยันการติดตั้ง
  4. ใส่หมายเลขรับอนุญาติ หรือ Serial Number (แล้วแต่โปรแกรม)
  5. ทำตามขั้นตอนต่างๆ ที่หน้าจอกำหนดไว้
  6. รอจนกระทั่วติดตั้งเสร็จสมบูรณ์
  7. หลังจากเสร็จแล้ว บางโปรแกรมอาจจำเป็นต้องมีการ restart เครื่องใหม่
  8. รายะเอียดดังกล่าวข้างต้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง ทั้งนี้ขึ้นกับโปรแกรมที่นำมาติดตั้ง

ติดตั้งจากแผ่น CD แบบไม่ได้รันอัตโนม้ติ

  1. กดปุ่ม Start บน taskbar
  2. คลิกเลือกคำสั่ง RUN
  3. คลิกปุ่ม Browse
  4. เพื่อเลือก drive ที่เก็บโปรแกรมที่ทำการติดตั้ง
  5. เลือกไฟล์ชื่อ Setup หรือ Insatll (โปรแกรมส่วนใหญ่จะใช้ชื่อเหล่านี้)
  6. กดปุ่มยืนยันการติดตั้ง
  7. ใส่หมายเลขรับอนุญาติ หรือ Serial Number (แล้วแต่โปรแกรม)
  8. ทำตามขั้นตอนต่างๆ ที่หน้าจอกำหนดไว้
  9. รอจนกระทั่วติดตั้งเสร็จสมบูรณ์
  10. หลังจากเสร็จแล้ว บางโปรแกรมอาจจำเป็นต้องมีการ restart เครื่องใหม่
  11. รายะเอียดดังกล่าวข้างต้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง ทั้งนี้ขึ้นกับโปรแกรมที่นำมาติดตั้ง

3.1 ท่านั่งที่ถูกสุขลักษณะ


 


 

สำหรับท่านั่งที่ถูกต้อง คือ…
- นั่งหลังตรง โดยไม่ทิ้งน้ำหนักกดสันหลังช่วงล่าง
- ไม่งอหรือห่อไหล่ และนั่งให้เต็มเก้าอี้
- พิงหลังชิดพนัก หาหมอนหรือผ้าหนุนบริเวณส่วนเว้าของพนักพิง
 - วางปลายเท้าทั้งสองข้างให้ถึงพื้น และกระจายน้ำหนักให้เท่ากัน
- พับเข่าทำมุม 90 องศา ในระดับเดียวกับสะโพก
- ส่วนแขนปล่อยวางข้างลำตัว พร้อมนั่งแขม่วหน้าท้องเล็กน้อย หายใจให้เป็นธรรมชาติ
- ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง เพราะเป็นการบิดตำแหน่งเชิงกรานให้ผิดลักษณะ ส่งผลให้น้ำหนักขาตกอยู่ที่เส้นเอ็นและกระดูกอ่อน
ขณะนั่ง หมั่นยืดหลังให้บริเวณอกแอ่นไปด้านหน้า ค้างไว้ครั้งละ 20 วินาที เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อหน้าท้องและผ่อนน้ำหนักจากข้อต่อสันหลัง
        เมื่อต้องการเปลี่ยนอิริยาบถจากนั่งเป็นยืน ให้ขยับตัวไปด้านหน้าของเก้าอี้ ก่อนทิ้งน้ำหนักที่ขา ยืดขาช้า ๆ พยายามอย่ายืนขึ้นในลักษณะสันหลังช่วงเอวโก่งงอ
ส่วนท่ายืนที่ถูกต้อง คือ…
- ศีรษะและคอตั้งตรง
- ไม่เกร็งช่วงไหล่ และกระดูกไหปลาร้า ให้อยู่ในลักษณะผายออกอย่างผ่อนคลาย
- สะโพกทั้งสองข้างให้อยู่ในระดับเสมอกัน
- งอเข่าเล็กน้อย ไม่ควรเหยียดยืดให้ตรงเกินไป
- ข้อเท้าทั้งสองข้าง ควรทิ้งน้ำหนักตัวเฉลี่ยเท่า ๆ กัน
       การนั่งและยืนอย่างถูกต้อง นอกจากจะทำให้ดูสง่าผ่าเผยแล้วยังช่วยลดการเสื่อมของข้อต่อ ลดความตึงของเส้นเอ็น กล้ามเนื้อไม่เกิดอาการอ่อนล้า ป้องกันอาการปวดหลัง-ปวดศีรษะ ลดความเสี่ยงจากการเจ็บกล้ามเนื้อฉับพลันได้.